วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง

                                                 ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง


เทคโนโลยีสารสนเทศกับเศรษฐกิจพอเพียง
          ใน สภาวการณ์ปัจจุบันประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนมักตกอยู่ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยคนไทยส่วนใหญ่หันไปให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของชาวตะวันตกมากเกินไป จนลืมวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของตนเองไปปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยทุกคน เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง หรือที่เรียกว่าความพอเพียง (Sufficient) โดยยึดหลัก 3 องค์ประกอบ 2 เงื่อนไข ดังนี้ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภค ที่อยู่ในระดับพอประมาณความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล และรอบคอบการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งใกล้และไกลเงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย ความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงได้ โดยไม่ต้องยึดติดกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถคิดเอง ทำเองได้ โดยอาศัยภูมิปัญญาที่มีอยู่ในสังคม  ซึ่งในที่นี้ขอกล่าวถึงผลงานของนักเรียนจากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จันทบุรี ที่ได้ประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่สามารถทำงานทดแทนแรงงานคนได้ จากโครงการ “ICT KID" เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง”หนึ่งในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าที่ไม่ได้ใช้ มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องควบคุมในการสั่งให้เปิด-ปิดไฟ รดน้ำต้นไม้ และรดน้ำนาข้าว ฯลฯ ซึ่งผู้ใช้สามารถตั้งเวลาเอาไว้ได้ว่าต้องการให้เครื่อง ทำงานเวลาใด เมื่อถึงเวลาระบบก็จะเริ่มทำงานทันที ทำให้อำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรชาวไร่ชาวนา และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานคนอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าทุกระดับ ทุกสังคม ก็สามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปใช้ได้ โดยการแสวงหาความรู้ใหม่ๆหรือภูมิปัญญาที่มีอยู่ แล้วนำมาประยุกต์เพื่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและสังคม สามารถมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวได้ ไม่กลัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้น
อ้างอิง :  http://www.gotoknow.org/posts/140486?





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น